ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae)
ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae) เป็นไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงในทางภาคอีสานของไทย
ซึ่งอยู่ในหมวดหินเสาขัว อายุราว ๆ 130 ล้านปีมาแล้ว เป็นไดโนเสาร์ในยุคซอโรพอด
ในช่วงสัตว์กินพืช ซึ่งมีขนาดความยาวประมาณ 15-20 เมตร เป็นไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบ
ที่จังหวัดขอนแก่นเมื่อปีพ.ศ. 2525 และได้รับการบรรยายลักษณะภาพในปี พ.ศ. 2537
หรือในปี ค.ศ. 1994 อีกหนึ่งการค้นพบที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลกในครั้งนี้
ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae) |
ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน เป็นไดโนเสารที่ถูกค้นพบในจังหวัดขอนแก่น
โดยเป็นการค้นพบยกระดูกพวกวัยเยาว์ที่มีขนาด 2 เมตร สูง 0.5
เมตรและยังพบในหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยเฉาพจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ค้นพบโครงกระดูกอย่างน้อย 6 ตัว ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 800
ชิ้น เป็นการค้นพบที่คาดการณ์กันว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์กินพืชชนิดนี้เป็นจำนวนมาก
ถือว่าค้นพบครั้งสำคัญของไทยเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์
ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae) |
สำหรับการตั้งชื่อนี้มาจากกรมทรัพยากรธรณีได้ขอพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเกียรติพระองค์ที่ท่านทรงสนพระทัยทางด้านบรรพชีวินวิทยาและธรณีวิทยา
จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อไดโนเสาร์นี้ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน
การค้นพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ครั้งนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งการพัฒนาของการค้นพบไดโนเสาร์
จึงทำให้ทางภาคอีสาน เป็นดินแดนไดโนเสาร์และยังมีพิพิธภัณฑ์สิริธร
ศูนย์ศึกษาวิจัยพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
จึงเป็นแหล่งศึกษาความรู้เกี่ยวกับโลกยุคไดโนเสาร์ที่เลื่องชื่อของไทย